นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดโครงการปั้นฝันด้วยพหุปัญญา พัฒนาทักษะอาชีพสู่ฐานอนาคตที่มั่นคงระยะที่ 3 โดยมีนายยงยุทธ พรหมแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต ๕ ผศ.ดร. นายเกรียงไกร วงศ์ปัญญาประเสริฐกุล ผู้บริหารวิทยาลัยเทคโนโลยีชุมแพไทย –เยอรมัน Gtech พร้อมด้วยผู้บริหารสำนักงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและวิทยาลัย ผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัด สพป.ขอนแก่น เขต 5 ให้การต้อนรับ
โครงการสานปั้นฝ้นด้วยพหุปัญญา ดำเนินการขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง สพป.ขอนแก่น เขต 5 โดยโรงเรียนขยายโอกาสในสังกัด กับ วิทยาลัยเทคโนลีไทย-เยอรมัน ในการร่วมมือส่งเสริม สนับสนุน การเรียนรู้สายอาชีพตามความถนัดของนักเรียน
โครงการดังกล่าวจัดทำขึ้นเพื่อเชื่อมโยงหลักสูตรด้านอาชีพกับหน่วยงานอาชีวศึกษา ส่งเสริมศักยภาพให้แก่ผู้เรียน (Upskill) และส่งเสริมให้เกิดทักษะใหม่ด้านอาชีพ (Reskill) เปิดโอกาสให้ให้ผู้เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรียนตามความถนัดและความสนใจสามารถนำทักษะการปฏิบัติ ฝากเป็นหน่วยกิตในสถาบันอาชีวศึกษาเพื่อเทียบโอนหน่วยกิตสะสมไว้ศึกษาต่อสายอาชีพได้ตามต้องการ ทั้งยังเป็นการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้สายอาชีพและผลิตภัณฑ์นักธุรกิจน้อยเพื่อสร้างรายได้ระหว่างเรียน ผลจากการดำเนินโครงการพบว่ามีนักเรียนระดับมัธยมของโรงเรียนขยายโอกาสเข้าศึกษาต่อสายอาชีพเพิ่มขึ้น โดยในปี 2565 สพป.ขอนแก่น เขต 5 มีนักเรียนชั้น ม3 จำนวน 791 คน ศึกษาต่อสายอาชีพ 534 คน สายสามัญ 333 คน ปี 2566 ศึกษาต่อสายอาชีพ 452 คน สายสามัญ 280 คน ปี 2567 นักเรียนจากโรงเรียนขยายโอกาสสนใจเข้าร่วมโครงการในระยะ 3 เป็นจำนวนมาก สพป.ขอนแก่น เขต 5 และวิทยาลัยเทคโนโลยีชุมแพไทย-เยอรมัน (G-tech) คู่สัญญาความร่วมมือ จึงจัดโครงการสานฝันด้วยพหุปัญญาพัฒนาทักษะทักษะอาชีพสู่ฐานอนาคตที่มั่นคง ระยะที่ 3
การดำเนินการตามโครงการสานฝันด้วยพหุปัญญาพัฒนาทักษะอาชีพสู่ฐานอนาคตที่มั่นคง ดำเนินการแล้วสองระยะ โดยระยะที่ 1 เป็นการลงนามความร่วมมือระหว่างโรงเรียนขยายโอกาสในสังกัด สพป.ขอนแก่น เขต 5 กับ วิทยาลัยเทคโนโลยีชุมแพไทย –เยอรมัน Gtech ในการจะเป็นคู่สัญญาความร่วมมือให้ความรู้ด้านวิชาชีพ ในระยะที่ 2 ทางวิทยาลัย G-tech ส่งบุคลากรในด้านวิชาชีพต่างๆ ในสาขาวิชาที่เปิดสอนเพื่อเป็นวิทยากรให้ความรู้และสร้างทักษะให้กับนักเรียนโรงเรียนขยายในสังกัด สพป.ขอนแก่น เขต 5 ตามจุดบริการครอบคลุมพื้นที่ทุกโรงเรียน ในระยะที่ 3 เป็นการสะสมหน่วยกิตจากสาขาวิชาความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมเพื่อใช้ในการศึกษาต่อสายอาชีพตามต้องการ ทำให้ลดเวลาในการเรียนให้น้อยลง จบการศึกษาเร็วขึ้นสามารถนำความรู้และทักษะออกไปประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองและครอบครัว หรือเพื่อศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น.